สรุปองค์ความรู้ครั้งที่ 3

การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ความรู้มี 2ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแ- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา
ข้อมูล DATA
- ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information )
- ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ
สร้างเป็นองค์ความรู้ด้วยความเฉลียวฉลาด (Wisdom) และทำให้เกิดเชาว์ปัญญา (Intelligent)
รูปแบบการจัดการความรู้
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
วิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัด และต่อยอด


โมเดลปลาทู



“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้”


Knowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing
KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้ กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้ การสร้างความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งความรู้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ความรู้ที่จับได้ ตรวจสอบความถูกต้องและสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
CoP(Community of Practice) ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้ ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน สนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกันมีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเองและมีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ไม่พูด ไม่คุย ไม่เปิด ไม่รับ ไม่ปรับ ไม่เรียน และ ไม่เพียร ไม่ทำ
คลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ การถอดบทเรียนที่ได้ และ แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง
ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) นำสู่การกระทำ นำสู่ภาพที่ต้องการ
"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

ใบงานที่ 10 ประว้ติส่วนตัว

แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต