รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย สิริวรรณ มณีโชติ
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2552

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)พัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
(2)เปรียบเทียบทักษะชีวิตก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
(3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2552 ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะชีวิตของห้อง ต่ำกว่า 83 คะแนน มีจำนวน 4 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 162คน ผู้วิจัยสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม มาเป็นกลุ่มทดลอง1ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินทักษะชีวิตของ อรวรรณ เจาะประโคน (2551) มีค่าความเที่ยง .92 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
(1)ได้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน 14 กิจกรรม ได้แก่ 1) รู้ค่าทักษะชีวิต 2) รู้คิดเรื่องอินเตอร์เน็ต 3)กลเม็ดคิดสร้างสรรค์ 4) ตัวฉันตระหนักรู้ 5)อยู่ร่วมกันฉันและเธอ 6)พบเจอความภาคภูมิใจ 7)วัยใสร่วมรับผิดชอบ 8)ครอบครัวดีมีสัมพันธ์ 9)สื่อสารกันด้วยไมตรี 10)ตัดสินใจดีมีคุณค่า 11)ใช้ปัญญาช่วยแก้ไข 12)จิตแจ่มใสอารมณ์ดี 13)รู้วิธีคลายกังวล 14)ค่ามากล้นทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ โดยมีความตรงตามโครงสร้างและความตรงตามเนื้อหา จากความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางการแนะแนว จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแต่ละกิจกรรมระหว่าง .60–1.00 และค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งชุด 1.00
2)ทักษะชีวิตของนักเรียน หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สูงกว่าก่อนใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3)ความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.71, S.D. = 0.11 )

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

ใบงานที่ 10 ประว้ติส่วนตัว