ใบงานครั้งที่ 9 ผู้บริหารมืออาชีพ

http://thaicursor.blogspot.com  getcodeคลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ (Management Professional) 1. สรุปคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ การบริหารจัดการที่ดี พึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ หลายประการ ในเบื้องต้นผู้บริหารควรมีความยึดมั่นและให้ความสำคัญกับหลักการในการทำงาน (Principle focus) เพื่อที่จะสร้างเป็นบรรทัดฐานให้กับองค์กร ด้วยการนำหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ซึ่งหมายถึง การนำเอาแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้องค์กรของเราเอง สังคม และภาคประชาชนทั่วไป สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้
1.หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง
การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆโดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2.หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3.หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายใน เชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6.หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน นักบริหารที่ดีควรเป็นผู้ที่สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลง และความขัดแย้ง (Conflict management) ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ โดยก่อให้เกิดการยอมรับอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้เกิดความรู้สึกที่สูญเสีย และควรใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบชนะ-ชนะ (Win-Win Solution)ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา (Learning Organization) อยู่อย่างต่อเนื่องยั่งยืน
อ้างอิง : www.m-ed.net/doc01/executive.doc gotoknow.org/blog/thecityedu/159300  
            www.nb2.go.th/kmcdata/uploadq/332.pps

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

ใบงานที่ 10 ประว้ติส่วนตัว